วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562

ยุคลิด (Euclid)

 ยุคลิด (Euclid)


ประวัติ

เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่เรารู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและบุคลิกภาพของยูคลิดน้อยมาก รู้แค่เพียงว่าท่านเคยเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ (professor of mathematics) ของมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย (University of Alexandria) ต่อจากเพลโต และก่อนหน้า อาร์คีมีดีส  และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่อะเล็กซานเดรียเป็นเวลานานรวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งสำนักคณิตศาสตร์แห่งอะเล็กซานเดรีย (Alexandria School of Mathematics) ขึ้นด้วย ซึ่งสำนักแห่งนี้ก็มีชื่อเสียงต่อมาอีกเป็นเวลานาน
มีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อได้ว่ายุคลิดเคยได้รับการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ที่สำนักเพลโต (Platonic School) ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) มาก่อน และมาอยู่ที่อะเล็กซานเดรียภายหลังจากที่พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ประมาณ 359–323 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้สร้างเมืองอะเล็กซานเดรียขึ้น และท่านก็มีชื่อเสียงแพร่หลายในรัชสมัยโตเลมีที่ 1 พระเจ้าโซเตอร์ (Ptolemy I Sotor, ประมาณ 367–282 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งพระเจ้าโตเลมีที่ 1 นี่เองที่ทรงเป็นผู้สร้างมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรียขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะชัดจูงคนที่มีการศึกษาดีมาอยู่ในเมืองนี้ และมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็นับได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมากที่สุด มีทั้งห้องบรรยาย ห้องทดลอง สวน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้องสมุด ซึ่งสร้างไว้ได้อย่างใหญ่โตมาก และนับว่าเป็นที่เก็บรวบรวมผลงานที่ใช้ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ดังที่มีคำกล่าวเปรียบเปรยว่า ภายในระยะเวลา 40 ปีนับตั้งแต่มีการก็ตั้งห้องสมุดมาเท่านั้นก็มีม้วนกระดาษปาปิรุส (papyrus rolls) มากกว่า 6 ม้วน และอะเล็กซานเดรียก็กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการ (Intellectual metropolis) ของชาวกรีกติดต่อกันมา

ผลงาน The Elements

แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตรรกยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยมผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่อง และดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น เธลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และปีทาโกรัส (Pythagoras) อย่างไรก็ตาม หลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วนหลัก การหา ห.ร.ม.ที่ง่ายที่สุดและรู้จักกันดีจนถึงปัจจุบันคือ ให้นำตัวเลขจำนวนน้อยหารตัวเลขจำนวนมาก เศษที่เหลือมาเทียบกับเลขจำนวนน้อย จับหารกันไปเรื่อย ๆ ทำเช่นนี้จนลงตัว ได้ ห.ร.ม. คือ ตัวเลขตัวสุดท้ายที่นำไปหารได้ลงตัวดังตัวอย่าง การหา ห.ร.ม. ของ 330 กับ 140 ทำได้โดยนำ 140 ไปหาร 330 ได้ผลลัพธ์ 2 เหลือเศษ 50 นำ 50 ไปหาร 140 ได้ผลลัพธ์ 2 เหลือเศษ 40 นำ 40 ไปหาร 50 ได้ผลลัพธ์ 1 เหลือเศษ 10 นำ 10 ไปหาร 40 ได้ผลลัพธ์ 4 และเป็นการหารลงตัว ดังนั้น ห.ร.ม.ของ 330 กับ 140 คือ 10

อ้างอิง

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler)

 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler)




ประวัติ                                                                                                                           
เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส  เขาได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เคยมี เกิดวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1707 ที่เมืองBasel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาเป็นเด็กที่มีความเป็นอัจริยะทางคณิตศาสตร์ และได้ศึกษาคณิตศาสตร์กับ Johann Bernoulli ท่านได้รับปริญญาตรีเมื่ออายุ 16 ปี และปริญญาโททางปรัชญา เมื่ออายุ 18 ปี ท่านทำงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ ในปี ค.ศ.1727 ท่านรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ St. Petersburg Academy of Sciences (ในรัสเซีย) ซึ่งสถาปนาโดย ซาร์ปีเตอร์มหาราช 14 ปีต่อมาท่านไปเป็นผู้อำนวยการ Prussian Academy ตามคำเชิญของเอมเปอเรอร์เฟรเดอริกมหาราช ท่านทำงานในตำแหน่งนี้ 25 ปี จึงกลับไปที่ St. Petersburg อีกและอยู่ที่นั้นจนถึงแก่กรรม ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1783 อายุ 76 ปี
เลออนฮาร์ด ออยเลอร์  เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า  "ฟังก์ชัน"  (ตามคำนิยามของไลบ์นิซ ใน  ค.ศ.1694)  ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร  เช่น  y  =  F(x)  เขายังได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่ประยุกต์แคลคูลัสเข้าไปยังวิชาฟิสิกส์

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์มีผลงานมากมายที่สุดคนหนึ่ง ผลงานทั้งหมดของเขารวบรวมได้ถึง  75  เล่ม  ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อผลงานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  18  เขาต้องสูญเสียการมองเห็นและตาบอดสนิทตลอด  17  ปีสุดท้ายในชีวิตของเขา  ซึ่งในช่วงนี้เองที่เขาสามารถผลิตผลงานได้ถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผลงานทั้งหมดของเขา



ผลงาน
 ริเริ่มวิชาทอโพโลยี โดยแก้ปัญหาสะพานของเมือง Konigsberg          เขียนตำราแคลคูลัส (1755, 1768 - 74) ซึ่งเป็นตำราที่ใช้เป็นต้นแบบของตำราแคลคูลัสเล่มอื่นๆ ในสมัยต่อมา
          เขียนตำราชื่อ
 Introduction in Analysis Infinitorum (1748) ผลงานส่วนใหญ๋เกี่ยวข้องกับอนุกรมอนันต์ และเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดเด่น คือ การพัฒนาตรีโกณมิติโดยใช้วิธีของแคลคูลัส ทำให้ตรีโกณมิติเป็นสาขาหนึ่งของ Analysis แทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของเรขาคณิต
          คิดสัญกรณ์
 f(x) , e , , i , 
          คิดสูตร  

          คิดทฤษฎี
บท Euler's theorem และ Euler - function
          แนะนำ
 beta และ gamma function ในวิชา Advanced Calculus
          ใช้
 integrating factor ในการแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียล
ปัญหาสะพานเคอนิกส์เบอร์ก


ปัญหาที่น่าขบคิดในเรื่องสะพานเคอนิกส์เบอร์ก ที่น่าสนใจมี
          ปัญหาที่ 1. ให้เขียนเส้นทางเดินทางบนกระดาษ โดยการเดินทางนี้จะต้องเดินทางข้ามสะพานทุกสะพานโดยไม่ซ้ำกัน และข้ามแต่ละสะพานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  
          ปัญหาที่ 2.สมมุติว่ามีสะพานข้ามแม่น้ำน้อยลง โดยสะพานมีดังรูป



ลองทำการลากเส้นทางเดินโดยการข้ามสะพานเพียงสะพานละครั้งเดียว

          ปัญหาที่ 3. การข้ามสะพานนี้ จะขึ้นอยู่กับการนำสะพานใดสะพานหนึ่งออกหรือไม่ และถ้าเราเพิ่มสะพานเข้าไปอีกจะเกิดอะไรขึ้น ลองทดลองวางแผนการข้ามสะพานจากที่วาดใหม่บนแผนที่ที่มีสะพานเพิ่มขึ้น  
 การแก้ปัญหาของออยเลอร์


          อยเลอร์ เสนอวิธีการแก้ปัญหานี้โดยการแทนพื้นดิน แต่ละแห่งเป็นจุดซึ่งเรียกว่าจุดเชื่อมโยง (Vertices) และเรียกสะพานซึ่งเป็นการเชื่อมระหว่างจุดเหล่านี้ว่า เส้นเชื่อมโยงระหว่างจุด (arcs) ดังนั้นสะพานเคอนิกส์เบอร์กจึงเขียนแทนด้วยเส้นข้ามสะพานระหว่าง Vertices กับ arcs


 เมื่อเขียนเส้นเชื่อมระหว่างจุด ปัญหาสะพานทั้งเจ็ด มีลักษณะเป็นกราฟ ดังรูป


 ปัญหานี้จึงอยู่ที่การลากเส้นด้วยดินสอโดยการเขียนเส้นโดยไม่ต้องยกดินสอออกจากกระดาษ โดยแต่ละเส้นที่เชื่อมระหว่างจุดจะมีการลากผ่านเพียงครั้งเดียว สังเกตว่ามีจุด 4จุด และมีด้าน (arc) อยู่ทั้งหมดเป็นเลขคี่ (ในนี้มี arcs) เริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งแล้วลากตามเส้น เพื่อให้ผ่านเส้นครั้งเดียว ลองทดลองดูจะเห็นว่าไม่สามารถทำได้      



อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94_%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

เทศกาลดนตรี



ประวัติศาสตร์งานดนตรี

เนื่องด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่แล้ว คงเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเราเวลาทำกิจกรรมประจำวัน ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าว ทำงาน ดูหนัง หรือแม้กระทั่ง ไปดูคอนเสิร์ต วันนี้ Greedgigs ขอนุญาติเล่าความเป็นมาของการจัดงานคอนเสิร์ตตั้งแต่อดีตกาลนะครับ

คำว่า Festival กำเนิดขึ้นครั้งแรกใรศตวรรษที่ 16 โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Feast ซึ่งแปลว่า งานเลี้ยง หรืองานฉลอง
• จริงๆ แล้ว ตามพงศาวดาร (เหรอ) ได้กล่าวไว้ว่า จริงๆแล้วมันมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันโบราณแล้วด้วย เมื่อ 6 ศตวรรษก่อนคริสตสักราช เป็นการแข่งขันการเล่นดนตรีใน เหมือนกับกีฬาทั่วๆไป ใน Pythian Games (เหมือนกับ Olympic Games).
หรือแม้กระทั่งปีในปี คศ.ที่ 1000 ก็มีการจัดงานเต้นทที่ชื่อว่า Mods ที่ประเทศสกอตแลนด์ หรือ Feis ที่ประเทศไอร์แลนด์
• พอๆ เรามาเล่าถึงเรืองเที่ค่อนข้าง เกี่ยวกับปัจจุบันบ้างดีกว่
งานเทศกาลดนตรีจริงๆ แล้วมีแต่คนคิดว่ามันคงมีมาแต่ที่ยุโรป แน่ๆ แต่จริงๆแล้วมีงานเทศกาลดนตรีที่จัดต่อกันยาวนานที่สุดด้วยนะ อยู่ที่ประเทศอินเดีย
คือชื่องาน Tyagaraja Aradhana ซึ่งเป็นงานเทศกาลดนตรีที่เกียวกับเพลงอินเดียคลาสสิค ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปี 1847 หรือจัดมานานกว่า 171 ปีแล้วว เยดโด้ จัดไปได้ไงวะเนี่ย
• ส่วนงานเทศกาลดนตรีของฝั่งตะวันตกที่มีการบันทึกไว้ งานแรกจะเป็นงาน Newport Jazz Festival (ปัจจุบันยังคงจัดอยู่) ซึ่งเป็นงานดนตรี Jazz ที่จัดขึ้นที่ Rhode island(อเมริกา) ในปี 1952 ซึ่งมีผู้ชมถึง 13,000 คนเลยทีเดียว โดยมีการเล่นเพลง Jazz ,Blues และ Gospel มีศิลปินอย่าง Billie Holiday, Ella Fitzgerald และ Dizzy Gillespie มาร่วมแสดง
ทั้งนี้ที่งาน Newport นี้เองได้เป็นการจัดการโดยกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบงานครื้นเครง จึงเกิดความคิดที่ให้มีการตั้งเต้นท์ หรือนอนในสถานที่โรงจอดรถ เพื่อนที่จะได้ให้ผู้ชมมาอยู่ด้วยกันและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางดนตรีด้วยกัน
หลังจากนั้นไม่เกิน 10 ปีก็มีงานลูกคลอดออกมาชื่อว่า Newport Folk Festival ในปี 1959 ซึ่งงานดนตรีส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวโฟลค์ ฟังสบายๆ แต่แล้วมีอยู่ปีหนึ่งซึ่งคือปี 1965 ซึ่ง Bob Dylan ศิลปินชื่อดังในขณะนั้น และได้เป็น Headliner ได้อยากลองเล่น กีตาร์ไฟฟ้าตอนแสดงโชว์ขแงเค้า ซึ่งผลตอบรับก็คงเป็นที่งงของคนดูว่ามึงเล่นเหี้ยอะไรนี่ คนจะฟังเพลงโฟลค์ เหมือนเป้นการแนะนำดนตรี RocknRoll ให้กับเราๆ ให้เรารู้จักกันก่อน
• หลังจากที่ RocknRoll กำลังดัง และยังไม่มีงานไหนที่นำเพลง RocknRoll มาจัดสักที ก็มีการจัดงาน The Monterey Pop Festival ขึ้นมา ที่ California ในปี 1967 โดยมีศิลปินอย่าง Janis Joplin มThe Who หรือ Ravi Shankar และ ที่ขาดไม่ได้คือ Jimi Hendrix ที่ได้บรรเลงเพลงร๊อคแอนด์โรล์อย่างเมามันในตอนนั้น โดยถือว่าเป็นการแจ้งเกิด Jimi เลยก็ว่าได้ และประวัติศาสตร์ในวงการร๊อคเลยก็ว่าได้ ในงานมีผู้เข้าชมร่วมกว่า 90000 คนเลยทีเดียว
หลังจากนั้นอีก อีกไม่นาน หน้าประวัติศาสตร์เทศกาลดนตรีก็ต้องจารึกไว้ เพราะได้มีงานเทศกาลดนตรีอันใหม่ที่มีชื่อว่า Woodstockจัดขึ้นที่ NewYork ในปี 1969 เป็นงานดนตรีที่สามารถรวบรวมหนุ่มสาวทั่วอเมริกาได้ถึง 500,000 คน อยู่ด้วยกันถึง 3 วัน 3 คืน มีพื้นที่ถึง 600 เอเคอร์ (2.4 ตร.กม.) ฃ ทั้งนี้ ตอนแรกทางเจ้าของงาน ต้องการขายบัตรเพียง 50,000 ใบ แต่สุดท้ายบัตรดันขายได้ถึง 180,000 ใบเลยทีเดียว แต่จนแล้วจนรอด ก็มีคนไหลมาถึง 500,000 คน ที่มีคนหลั่งไหลมาฟังเสียงเพลง ความรัก และ สันติภาพ ด้วยความโกลาหลของคนที่พรั่งพลูมาที่งานเยอะขนาดนั้น หลายคนคงคิดว่าน่าจะมีจลาจลเกิดขึ้นแน่ๆ แต่มีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 3 คน โดยไม่ได้มีจากการต่อสู้เลย อีกทั้งยังมีเด็กน้องลืมตาดูโลกในงาน Woodstock นี้ด้วย โดยมีวงดนตรีอย่าง Joan Baez, Arlo Guthri, The Who, Country Joe, Sly and The Family Stone, Canned Heat, Joe Cocker, Jimi Hendrix Crosby, Stills, Nash and Young The Greatful Dead, The Band, Bloods Sweat and Tears, Creedence Clearwater Revival, Incredible String Band, Johnny Winter, Paul Butterfield, Janis Joplin, Mountain and Keef Hartley, Melanie, Ravi Shankar
เรียกได้ว่ามาอย่างคับคั่งเลยทีเดียว ทั้งนี้ยังมีภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับงาน Woodstock ด้วยนะ เพื่อนๆ ลองไป ดูกัน
• หลังจากที่เทศกาลดนตรีได้ประสบความสำเร็จที่เมืองลุงแซม ,ก็ได้มีการมีการมาเปิดตลาดที่เมืองผู้ดีบ้าง ในปี 1970 กับเทศกาล Isle of white ที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ มี Line up อย่าง Jimi Hendrix ,Cactus ,The door ,The Who ,ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นงานเทศกาบดนตรีที่มีคนไปเยอะที่สุดในโลก ถึง 700,000 กว่าคนเลยทีเดียว (สถิติอยู่ที่งาน DONAUINSELFEST ที่เมือง Vienna ออสเตรีย ในปี 2015 กับผู้เข้าร่วมกว่า 3.3 ล้านคน ศิลปินกว่า 2000 คน ตลอด 3วัน3 คืน)
• แต่แล้ว 2 ผู้ชมจากในงาน Isle of Wight นี่แหละที่ได้เปิดโลกกับงานเทศกาลดนตรีแห่งแรกของเกาะอังกฤษ อย่าง Andrew Kerr และ Michael Eavis ก็ได้มีความคิดว่าอยากจะมีงานเทศกาลเป็นของตัวเอง Glastonbury จึงได้เกิดขึ้นมาจากการร่วมมือของเพื่อนทั้งสองคน โดยทั้งนี้ Michael เป็นเจ้าของฟาร์ม และได้คิดค่าตั๋วในตอนนั้นแค่ 1 ปอนด์(ตอนนี้ 200 กว่ามั้ง) ตอนนี้งาน Glastonbury ถือเป็นงานที่มีคนอยากไปมากและเป็นสถานที่ศิลปิน อัลเทอร์เนทีฟ ทั่วโลกที่อยากไป ใครได้ขึ้นเป็น Headliner ถือว่าเป็นรางวัลชีวิตเลยก็ว่าได้ โดยงาน Glastonbury จะจัดขึ้นช่วงหน้าร้อนของปี โดยจัดขึ้น 3วัน 3 คืน และจะหยุดพักทุก 5 ปี เพราะว่าต้องให้สภาพของฟาร์มฟื้นฟูเสียหน่อยหลังจากมีการเหยียบย่ำมา 5 ปี
นอกจากที่เกาะอังกฤษ ก็ยังมีงานเทศกาลดนตรีอื่นๆในยุโรปอีกอย่าง Pinkpop ที่จัดขึ้นที่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจัดขึ้นในปีเดียวกันกับ Glastonbury เลย งานจะจัดขึ้นทุกวนสำคัญทางศาสนาอย่าง Pentecost Monday, ในช่วงแรกๆที่จัด มีการแจกหมูย่าง และแอปเปิลฟรีกับผู้ชมดวยนะ
หลังจากนั้น เทศกาลดนตรีร๊อคก็เริ่มขยายไปเรื่อยๆ ในช่วงปี 1980 ไม่ว่าจะเป็นงาน Roskild ,Bubershoot หรือ Lollapalooza
หรือในปี 1985 ได้มีงาน initail Rock ที่เมือง Rio de janeiro ที่มีคนเข้างานถึง 1.5 ล้านคน ที่มี headliner อย่าง Queen และ ACDC
• และก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกอย่างนึงของงานเทศกาลดนตรีคือ งานอิเลคโทรนิค ตอนนั้นเพลงอิเลคโทรนิคกำลังบูม โดยมีอิทธิพลมาจากอเมริการอย่าง แนว house จากเมือง Chicago และ techno จาก Detriot ได้เข้ามาเผยเพร่ในแถบยุโรป พอดีกับตอนนั้นที่ กำแพงBerlin ได้พังทลายลง จึงทำให้เมืองได้เปิดมากขึ้น ได้รับวัฒนธรรมต่างๆเข้ามา โดยเฉพาะทางด้านดนตรี จึงมีการกำเนิดของงานดนตรีอิเลคทรอนิคเกิดขึ้นครั้งแรก อย่าง Loveparade ที่เปิดเพลง Trance/House/Techno ในปี 1989 ที่เมือง Berlin จัดขึ้นกลางถนน มีผู้ชมเข้าร่วมแค่ 150 คน (ล่าสุดมีคนเข้าร่วมงานถึง 800,000 คนในปัจจุบัน)
หลังจากนั้นก็มีการกำเนิดเทศกาลอิเลคโทรนิคต่างๆ อย่าง KaZantip ที่คาบสมุทรไครเมีย ประเทศยูเครนในปี 1992 จัดถึงสามสัปดาห์เลยทีเดียวและมีดีเจกว่า 300 คนมาร่วมแสดง
หลังจากนั้นก็ถือเป็นจุดกำเนิดของงานเทศกาลดังๆต่างๆ ในช่วงยุค 90 อย่างเช่น Big day out ที่ออสเตรเลีย , Fuji Rock ที่ญี่ปุ่น , Sziget ทีประเทศฮังการี ,Coachella ในแคลิฟอร์เนีย (ตอนแรกมีคนเข้าร่วม 10,000 คน เพื่อที่จะไปดู Beck, Jurassic 5 และ Rage Against the Machine )
รวมถึงมีการย้ายเทศกาลดนตรีไปไว้ที่เมืองอื่นบ้าง (ใครคิดไม่ออก ก็เหมือนงาน Ultra ที่แทบจะมีทุกประเทศเลย) เริ่มแรกที่งาน The Vans Warped Tour
ในเรื่องของ Production ตอนแรกงานเทศกาลต่างๆ ก็โฟกัสที่เรื่องของดนตรีอย่างเดียว แต่หลังจากที่มีเทศกาบอื่นผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้หลายเทศกาบจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง เริ่มที่งาน Coachella ที่ลงทุนทำในเรื่อง Backdrop เรื่องไฟ เรื่อง Production ให้ดีขึ้น จนดังในเรื่อง production
หรือแม้กระทั่ง มีธีมเป็นงานการกุศล อย่าง งาน Live Aid and Earth Aid
• ช่วงปลายปี 1999 ก็ได้มีการกำเนิดเทศกาล EDM งานแรกขึ้นอย่าง Electric Daisy Carnival ในเมือง Los Angeles ปี 1999 ซึ่งก็เป็นที่โด่งดังได้ง่ายเพราะว่าด้วยความที่เป็นเนวเพลงที่ค่อนข้างตลาด ฟังง่าย จึงได้มีงานอื่นๆ ตามมาในช่วง ปี 2000 จนถึงปัจจุบัน ตอนนี้ฏมีทุกแนว ไม่ว่าจะเร็กเก้ หรือ ฮิปฮอป ก็เริ่มผุดขึ้นมาเรื่อย
• ส่วนที่ประเทศไทย เทศกาลแรกที่จัด ก็คงจะเป็น Big Mountain Music festival ที่จัดขึ้นในปี 2010 ที่เโบนันซ่า เขาใหญ่ จำนวนผู้ชมกว่า 25,000 คน ศิลปินกว่า 130 ชีวิต จัดแค่ 2 วัน ถือว่าเป็นส่วน Festival ที่ริเริ่ม หลังจากนั้นก็เริ่มมีงานเทศกาลผุดมาอีกไม่ว่าจะเป็น
– Overcoat
– WARP
– S2O
– Waterzonic
– Dropzone
– Huahin Jazz Festival
– อีสานเขียว
– MAYA Music Festival
– Wonderfuit


อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=xVWs0ti0J90
https://www.youtube.com/watch?v=MR7CPbS3000
https://www.greedgigs.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5/

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

AirPods


AirPods



AirPods มาพร้อมกับขุมพลังจากชิพหูฟัง Apple H1 แบบใหม่หมด จึงเชื่อมต่อแบบไร้สาย กับอุปกรณ์ของคุณได้เร็วและเสถียรยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสลับไปมาระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ ได้เร็วขึ้นถึง 2 เท่า และเชื่อมต่อเพื่อรับสายโทรศัพท์ได้เร็วขึ้น 1.5 เท่ายิ่งกว่านั้นชิพ H1 ยังช่วยให้คุณเรียกใช้งาน Siri ด้วยเสียงได้ และลดอัตราความหน่วงขณะเล่นเกมได้ ถึง 30% ทีนี้ไม่ว่าคุณจะเล่นเกม ฟังเพลง หรือเพลิดเพลินกับพ็อดคาสท์ ก็จะได้ สัมผัสกับประสบการณ์คุณภาพเสียงที่เหนือชั้นยิ่งขึ้น
AirPods มาพร้อมเซ็นเซอร์แบบออปติคอลและอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวจะทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมประสบการณ์การฟัง สั่งให้ไมโครโฟนทำงานเมื่อคุยโทรศัพท์และเรียกใช้งาน Siri อีกทั้งยังทำให้ AirPods เล่นเสียงทันทีที่อยู่ในหูคุณโดยอัตโนมัติแถมคุณยังเลือกได้อย่างฟรีสไตล์ว่าจะใส่AirPods ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
ซึ่งคุณสามารถกดเล่น หรือจะกดข้ามเพลงด้วยการแตะสองครั้งขณะที่ฟังเพลงอยู่ก็ยังได้
และยังมีอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวจากการพูดนั้นรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณกำลังพูดอยู่ และจะทำงานร่วมกับไมโครโฟนคู่แบบบีมฟอร์มมิ่งเพื่อกรองเสียงรบกวนรอบข้าง และให้ความสำคัญกับเสียงของคุณเป็นหลัก
แค่วางก็ชาร์จ แค่นั้นเอง เคสชาร์จแบบไร้สายใหม่ ทำให้การชาร์จกลายเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่วางเคส AirPods ลงบนแผ่นรองชาร์จไฟไร้สายที่รองรับมาตรฐาน Qi แค่นั้นก็เรียบร้อย ทั้งยังมีไฟ LED แสดงสถานะที่ด้านหน้าของเคสเพื่อบอกให้รู้ว่า AirPods ของคุณกำลังชาร์จอยู่ และถึงแม้ไม่มีแผ่นรองชาร์จอยู่ใกล้ๆ คุณก็สามารถชาร์จผ่านพอร์ต Lightning ได้ตามปกติ
untitled-13
ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ 24 ชั่วโมง เล็กแต่ทรงพลัง AirPods นั้นเป็นหูฟังระดับแนวหน้าของวงการที่ฟังได้นานถึง 5 ชั่วโมง และสนทนา ได้สูงสุด 3 ชั่วโมง ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังออกแบบมาให้พร้อมไปกับคุณได้ทุกที่ เพราะมีเคสชาร์จที่สามารถใช้ชาร์จได้หลายครั้ง เพื่อฟังได้นานกว่า 24 ชั่วโมง  หรือถ้าต้องรีบใช้ ก็ไม่มีปัญหา เพียงแค่ใส่ AirPods ไว้ในเคส 15 นาที คุณก็ใช้ฟังได้นานสูงสุด 3 ชั่วโมง และสนทนา ได้สูงสุด 2 ชั่วโมง11 และถ้าอยากรู้ว่าแบตเตอรี่เหลือเท่าไหร่ ก็เพียงหยิบ AirPods มาไว้ข้างๆ iPhone หรือถาม Siri ว่า "AirPods เหลือแบตเตอรี่เท่าไหร่" ง่ายๆ แค่นี้เอง
สรุปสั้นๆ ว่า AirPod รุ่นใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้แก่
  • ชิพใหม่ Apple H1 ทำงานฉลาดมากขึ้น
  • ชาร์จไฟไร้สายได้แล้ว
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า 24 ชม. เมื่อมีเคสชาร์จ
  • ฟังได้นานสูงสุด 5 ชม. ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
  • ชาร์จเพียง 15 นาที สามารถใช้ฟัง ได้นานสูงสุด 3 ชั่วโมง
 AirPods รุ่นใหม่ ขายนราคา
  • AirPods พร้อมเคสชาร์จแบบไร้สาย 7,790 บาท
  • AirPods พร้อมเคสชาร์จ 6,500 บาท << ไม่ต่างจากรุ่นเดิม
อ้างอิง